วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

คุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าเรียนในโครงการของเรา..........

คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ
 จัดการเรียนการสอน ปวส.พืชศาสตร์ ทวิภาคีไทย-อิสราเอล
***************************************************
1         อายุระหว่าง 19-25 ปีเพศชาย หรือเพศหญิง มีส่วนสูงไม่น้อยกว่า 158 ซม. เป็นผู้ที่มีเชื้อชาติไทยเท่านั้น
2         เป็นนักศึกษาที่กำลังเรียน ปวช. 3 เกษตรกรรม  ม.6   หรือกำลังเรียน ปวส. 1ประเภทวิชาเกษตรกรรม ที่ประสงค์ที่จะเรียนต่อในระดับ ปวส. สาขาวิชาพืชศาสตร์
3         มีความประพฤติ ขยัน อดทน ต่อการฝึกงานหนัก (ในประเทศอิสราเอล จะทำงานต่อเนื่อง 8-12ชั่วโมง ในสภาพอุณหภูมิ 35-45 องศาเซลเซียส ในฤดูร้อน และ 5-17องศาเซลเซียสในฤดูหนาว)
4         มีมนุษย์สัมพันธ์ดี ไม่ดื่มสุรา ไม่เสพสิ่งเสพติดทุกชนิด และไม่เล่นการพนันทุกประเภท
5                  มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง  ไม่เป็นโรค ไวรัส HIV ตับอักแสบ บี และ ซี ตาบอดสี  โรคเกี่ยวกับหัวใจและโรคติดต่อหรือโรคประจำตัวอื่นๆ อันจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและปฏิบัติฟาร์มในประเทศอิสราเอล
6                  ไม่มีปัญหาส่วนตัวหรือรครอบครัวที่จะเป็นอุปสรรคต่อการการศึกษาและปฏิบัติฟาร์มในประเทศอิสราเอล
7         ไม่มีประวัติในทะเบียนประวัติอาชญากรรมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8         สามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมโครงการได้ทั้งในและต่างประเทศ
9         พร้อมที่จะไปอยู่เพื่อเตรียมความพร้อมและเรียนภาคเรียนที่ 1 ในระดับ ปวส.  ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด  มหาสารคาม และศรีสะเกษ เป็นเวลา 6 เดือน ก่อนเดินทางไปศึกษาและฝึกปฏิบัติงานในประเทศอิสราเอล
10     สามารถที่จะอยู่ในกฎระเบียบของโครงการฯตลอดหลักสูตร



นักศึกษารุ่นที่ 10 ในวันรับใบประกาศจบการศึกษาและฝึกงานที่ประเทศอิสราเอล
มีบางคนได้รับคัดเลือกเป็น The best student

กลุ่มนี้ เป็นหนุ่มจากกาญจนบุรี

ศึกษาดูงานในสถานีวิจัยและพัฒนายาอี  อราวา




 
 
 
 
 
 

ฉี รุ่น 10 ขณะที่ลอยตัวในทะเลเดดซี (dead sea)







ปฏิบัติงานในฟาร์ม  ได้ความรู้ ประสบการณ์ จากกการลงมือทำจริง (learning by doing)  มีรายได้ด้วยนะ













วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2555

ได้เรียนรู้อะไรบ้างนิ.... ใน Arava Farm """"""""""

เรียนรู้คนและการจัดการคน
เรียนรู้งานและการจัดการงาน
เรียนรู้ตัวเองและการจัดการตัวเอง
เรียนรู้ทักษะเกษตร
- การปลูกพืชให้ออกสู่ตลาดทุกวัน
- การปลูกพืชด้วยระบบน้ำหยด 
-การแก้ไขปัญหาระบบน้ำหยด
-การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว
-การจัดการศัตรูพืช โดยวิธีการแบบ IPM (Integrated Pest Management)







ที่อราวาฟาร์มใช้ระบบน้ำหยดของ
บ.เนต้าฟิม ประเทศอิสราเอล
ไม่ได้ค่าโฆษณา แต่เราใช้ เพราะว่ามันโอเค
เราก็มีคนให้คำปรึกษาที่ดี คือคุณพงศกร จากเนต้าฟิม
บางครั้งท่านก็กรุณามาเป็นวิทยากรให้ลูกศิษย์เราด้วย


รุ่น 8 กำลังวางสายน้ำหยด แปลงแรกสุดของเรา ลองผิดลองถูก แต่นี่คือบทเรียนของเขา  ลงทุนสูง   คุ้มรึเปล่า  ต้องถามพวกเขาเอง 
ถือว่ารุ่น 8 คือรุ่นบุกเบิกการใช้ระบบน้ำหยดทีเป็นทางการและประสบความสำเร็จ
นอกจากจะบุกเบิกระบบน้ำหยดแล้ว  พวกเขายังทุ่มเทกำลัง บุกเบิกป่ารก ให้เป็นแปลงข้าวโพดอันมีชื่อ มาถึงปัจจุบัน

ต้องยกให้เขา..........





รุ่น 8 กำลังติดตั้งสายน้ำหยด  ทุลัก  ทุเล  เหมือนหัดถีบจักรยานด้วยตัวเอง
ล้มบ้าง เจ็บบ้าง แต่ทำให้เราเก่งขึ้น..




สมัยแรก เราวางสายน้ำหยด ตามการปลูกข้าวโพดหวานที่ทาง บ.แปซิฟิค เมล้ดพันธุ์แนะนำ คือวางระยะห่าง 120 ซม. และปลูกแถวคู่
จำได้ว่าแปลงแรกที่จะลงสายน้ำหยด  เจ้าของแปลงจะไม่ยอมใช้  อยากใช้น้ำแบบสปริงเกลอร์  แต่โดนบังคับ  ก็เลยต้องใช้  และสุดท้าย  ไม่ขอใช้อีกเลย ........

สปริงเกลอร์ .....

 


ยศ  รุ่น 8 อีกเช่นกัน กำลังเชื่อมต่อสายน้ำหยดกับท่อเมน
                                 

สร และจั๊ด  กำลังย้ายปลูกข้าวโพดหวาน 
ตอนนั้นเราใช้พันธุ Hibrix 3 and Hibrix 9
/ฝักใหญ่ หวานมาก อร่อย


วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2555

ห้องเรียนของเรามีหลายแห่ง ตลาด ก็ใช่......

ยังมีกิจกรรมอีกมากมาย ที่เกิดขึ้นขณะที่เรียน เตรียมความพร้อมในประเทศไทย
เพราะนอกจากเราจะเรียนในฟาร์ม  ในห้องเรียนสี่เหลี่ยมแล้ว  เราก็มีห้องเรียนอื่นๆอีกให้เราไปเรียน
จำหน่ายข้าวโพดหวานที่ตลาด

มีทั้งแบบที่จำหน่ายอยู่กับที่
 
Delivery ไปตามศาลากลางจังหวัด  ตลาดสด  โรงพยาบาล  ตลาดเอ็กซ์โปร์
ได้พบเจอลูกค้ามากมาย แต่ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง วัยกลางคนขึ้นไป
สาวๆไม่ค่อยซื้อ  มีคนบอกมาว่า  เขาอาย
เพราะมีแต่ชายหนุ่มหน้าตาดี มาขาย  สาวบางคนแอบฝากคุณยายมาซื้อ







บรรยากาศการจำหน่ายข้าวโพดหวาน
ด้านหลังโรงเรียนผดุงนารี 
มหาสารคราม  ขอเชิญแวะชิม
  ลูกค้าบอกว่า อร่อย





ข้าวโพดหวาน
บรรจุ 2-3 ฝัก
ราคา 20 บาท 
แล้วแต่ขนาดของฝัก
         




 
รถยนต์มรดก  จากพี่ๆ รุ่น 10-11 และพี่ๆชาวไทยที่ทำมาหากินในอิสราเอล
ขอบคุณมากมาย
ใช้สำหรับการเดินทางไปจำหน่ายสินค้าในตลาด หรือที่อื่นๆ 

รวมถึงไปจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ ด้วย







บรรยากาศการต้มข้าวโพดหวาน
 ที่จุดจำหน่าย 
 ลูกค้ายืนชม  
 ใกล้ชิด 
ปอกเปลือกไป 
ต้มไป
บรรจุถุงไป
จำหน่ายไป
ชิมไป
ด้วย ก็มี.....
  





6 เดือน ในประเทศไทย ทำอะไรบ้าง

เรียนแบบบูรณาการหลายวิชาจากการทำฟาร์ม  (Project Based Learning : PBL)
โดยลงฟาร์มและใช้ข้าวโพดหวานเป็นพืชตัวอย่างสำหรับเรียนหลากหลายวิชา
 สถิติและการวางแผนการทดลอง
หลักพืชกรรม (ม.6)
สรีรวิทยาของพืช
ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
ภาษาอังกฤษในสถานประกอบการ    การตลาด
    การขาย
    การจัดการคน
    การจัดการงาน
    การจัดการตัวเอง
    ระบบน้ำหยด ในพืชไร่  พืชผัก  ไม้ผล
  


เอ้ และเจมส์ กับกล้วยน้ำว้า ในอราวาฟาร์ม








ฝักข้าวโพดหวานพันธุ์Hibrix 3














เรียนทั้งกลางวัน
 กลางคืน 
ตามสถานการณ์จริง


















เรียนทั้งกลางวัน กลางคืน  ตามสถานการณ์จริง
คอนนี้กำลังเฝ้าดูแมลงที่ชื่อว่า Japanese Beetle เป็นด้วงชนิดหนึ่ง  ชอบกินไหมข้าวโพด  และในภาพนี้เขาไม่ได้กินแค่ไหม  เขายังกินเกสรตัวผู้  แล้วเราจะเอาเมล็ดมาจากไหน  








 ในงานฟาร์ม มีการทดลองด้วยตลอดเวลา เพื่อหาความรู้เพิ่มเติม เช่นจำนวนต้น/ไร่  วิธีการปลูก รวมทั้งพันธุ์ที่เหมาะสมในแต่ละฤดูอีกด้วย

















การเรียนการสอน 6 เดือน ในประเทศไทย

เริ่มต้นภาคเรียนในเดือนมีนาคมของทุกปี  โดยนักศึกษาจะมารวมกันเพื่อเข้าค่ายปฐมนิเทศ 3 วัน และแยกย้ายกันไปอยู่ที่ 3 ศูนย์การเตรียมความพร้อม คือ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด  มหาสารคาม และศรีสะเกษ  ซึ่งจัดการเรียนการสอน และเตรียมความพร้อมเหมือนกัน  อาจจะแตกต่างกันบ้างในรายละเอียด แต่เป้าหมายเหมือนกัน  ทำงานร่วมกัน ตัดสินใจร่วมกัน
ในเวลา 3 วัน มีทหารมาช่วย ดูแลเรื่องระเบียบวินัย  เรื่องความอดทน และอื่นๆ
ครูที่ปรึกษาของทั้งสามวิทยาลัย จะดูแลใกล้ชิด ทั้งการเรียนการสอน การเจ็บป่วย เรื่องส่วนตัว







การเข้าค่ายปฐมนิเทศของนักศึกษาอราวา
รุ่นที่ 12  ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด

โครงการนี้เป็นโครงการจัดการเรียนการสอน ปวส.พืชศาสตร์   โดยเรียนที่ประเทศไทย 5 เดือน อิสราเอลอีก 8 เดือน (2 เทอม) และกลับมาเรียนที่ไทยอีก 6 เดือน   จบการศึกษา ปวส. พืชศาสตร์ ภายใน 2 ปี




 ที่สนามบินเบนกูริออน ประเทศอิสราเอล ก่อนเข้า passport control 
At Bengurion international Airport, Tel Aviv, Israel before passport control







ในห้องเรียนระหว่างพักการเรียนการ สอน
Translator and students uin the classroom during break time











วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555

โครงการความร่วมมือจัดการเรียนการสอน ปวส.พืชศาสตร์ทวิภาคีไทย-อิสราเอล คืออะไร

 
 อราวาฟาร์ม เป็นของนักศึกษา โดยนักศึกษาและเพื่อนักศึกษา
Arava Farm belongs to students by students and for students 










นี่ก็แปลงปลูกข้าวโพดหวานของอราวาฟาร์ม
Over here is also sweet corn field in the Arava Farm, Mahasarakham College of Agriculture and Technology






โครงการความร่วมมือจัดการเรียนการสอน ปวส.พืชศาสตร์ ทวิภาคีไทยอิสราเอล  เป็นโครงการความร่วมมือจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาเกษตรโดยใช้รูปแบบทวิภาคี ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.= OVEC) ประเทศไทย และ Arava International Center for Agriculture and Technology  (AICAT) ประเทศอิสราเอล
   โดย สอศ. ได้มอบหมายให้วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด  มหาสารคาม และศรีสะเกษ เป็นสถานศึกษาศูนย์การเตรียมความพร้อม ให้แก่นักศึกษาที่มาจากทั่วประเทศ